ไฮโดร เอ็มเอ็น เปปไทด์ (Hydro MN Peptide) เป็นสารสำคัญตัวที่สามของเซเลอร์เจน เป็นสารสกัดจากกระดูกอ่อนในทะเล ประกอบด้วยส่วนผสมของโปรตีนชนิด hydrolized (มีคอลลาเจนเป็นส่วนประกอบหลัก) และสารพอลีแซ็กคาไรด์ (ประมาณ 35-40% เป็น chondroitin sulfate)

1. ป้องกันการชราภาพที่เกิดจากแสงโดย Peptide M

การได้รับรังสียูวีจากแสงแดด เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผิวชราภาพหรือเสื่อมสภาพก่อนวัยอันควร หรือรู้จักกันในชื่อว่า ความชราภาพที่เกิดจากแสง (photo aging) ที่จะนำไปสู่ปัญหาริ้วรอยร่องลึก ความหยาบกระด้างของผิว การสูญเสียความยืดหยุ่นของผิว และสีผิวกระดำกระด่าง

เปปไทด์ เอ็ม (Peptide M) ประกอบด้วยโปรตีนและพอลีแซ็กคาไรด์ชนิดเดียวกับผิวหนัง สารเหล่านี้ทำงานร่วมกันเพื่อช่วยปรับปรุงโครงสร้างของผิวหนัง ความชุ่มชื่น เนื้อสัมผัส ความยืดหยุ่นให้ดีขึ้น เมื่อเวลาผ่านไปริ้วรอยบางๆ เส้นเลือดฝอย และจุดด่างดำลดลงอย่างเห็นได้ชัด และยังเปลี่ยนแปลงผิวที่ถูกแสงแดดทำลายให้ดีขึ้น

2. ผลของ Peptide N ต่อระดับน้ำตาลในเลือดภายหลังรับประทานอาหาร

เปปไทด์ เอ็น (Peptide N) ซึ่งเป็นหนึ่งในสารของเซเลอร์เจน คือโปรตีนไฮโดรไลเซตจากทะเลที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่า ช่วยลดค่าดัชนีน้ำตาล (glycemic index) หรือค่า GI และยังแสดงให้เห็นว่าเปปไทด์ เอ็น สามารถป้องกันการสะสมของไขมันที่ไม่ดีในร่างกายได้ ในขณะที่ช่วยบรรเทาอาการของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 (type II diabetes) อีกด้วย

น้ำตาลกลูโคสที่เข้าสู่กระแสเลือด ที่ได้รับจากอาหารนั้นถูกนำไปใช้สำหรับการสร้างพลังงานให้กับเซลล์ในร่างกาย ในทางตรงกันข้ามกลูโคสที่เกินมาจะถูกเปลี่ยนเป็นไขมันและถูกเก็บไว้ใช้ในภายหลัง เมื่อเวลาผ่านไปการเก็บสะสมไขมันที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องจะนำไปสู่โรคอ้วน อย่างที่สองที่พบบ่อยและเป็นที่ทราบกันคือ เมื่อน้ำตาลในกระแสเลือดและสารอินซูลิน (จากอาหารที่มี ค่า GI สูง) อยู่ในระดับสูงเป็นระยะเวลานาน จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะดื้ออินซูลิน และโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในทางกลับกันการที่น้ำตาลในเลือด (จากอาหารที่มี ค่า GI ต่ำ) ปลดปล่อยทีละน้อยอย่างช้าๆ จะไม่มีผลกระทบต่อความเสี่ยงนี้ และยังช่วยชะลอความหิว

 

ผลของระดับน้ำตาลในเลือดภายหลังจากการได้รับอาหาร 4 มื้อที่มีองค์ประกอบของชนิดโปรตีนแตกต่าง

จากรูปแสดงผลการศึกษาของการประเมินผลจากโปรตีนชนิดต่างๆ 4 ชนิด ได้แก่ เปปไทด์ เอ็น, เนื้อปลา, โปรตีนเคซีน (casein) จากนม และโปรตีนสกัดจากถั่วเหลือง ต่อระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือด ซึ่งทดสอบในอาสาสมัครเพศหญิง จำนวน 17 คน (อายุประมาณ 32-64 ปี) โดยอาสาสมัครแต่ละคนได้บริโภคโปรตีนเหล่านี้ตามลำดับแบบสุ่ม ซึ่งโปรตีนเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งขององค์ประกอบในมื้ออาหาร ที่ประกอบไปด้วยสารอาหารหลักที่เหมือนกัน และเว้นระยะห่าง 1 สัปดาห์ระหว่างแต่ละมื้ออาหารที่มีโปรตีนนั้นๆ

ตัวอย่างเลือดจะถูกสุ่มจากอาสาสมัครแต่ละราย เพื่อประเมินระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือด ระดับอินซูลิน และตัวชี้วัดทางชีวภาพอื่นๆ ในสภาวะอดอาหาร ทั้งหมด 7 ครั้งหลังอาหารแต่ละมื้อ เป็นระยะเวลานานถึง 240 นาที

การศึกษานี้พบว่า อาหารเสริมเปปไทด์ เอ็น ส่งผลลดระดับน้ำตาลในเลือดลงอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งลดได้มากกว่าโปรตีนจากเนื้อปลา หรือโปรตีนสกัดจากถั่วเหลือง ในการศึกษาทางคลินิกอื่นๆ พบว่าเปปไทด์ เอ็น ช่วยลดความอยากอาหาร และสร้างความอิ่มผ่านการทำงานของเปปไทด์ เอ็น ต่อฮอร์โมนที่ช่วยในการเผาผลาญ